สายน้ำฉ่ำเย็น แม่น้ำโขง ชี มูน


สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 เป็นสะพานนานาชาติแห่งแรกที่พาดข้ามไปบนแม่น้ำสายนี้ เชื่อมมิตรภาพสองฝั่งโขง ร้อยใจลาว-ไทยน้องพี่เข้าด้วยกัน จากสะพานมิตรภาพๆ แม่น้ำโขงก็ขยายตัวกว้างใหญ่ ทอดผ่านเมืองสองฟากฝั่งที่ล้วนเป็นเมืองสำคัญของสองประเทส เช่น เมืองบึงกาฬ เมืองบอลิคัน เมืองนครพนม และเมืองท่าแขก จนมาพบกับสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นแม่น้ำโขงก็ไหลต่อลงไปผ่านเมืองเขมราฐ ก่อให้เกิดแก่งหินที่สวยงามขึ้นอีกหลายชุดก่อนจะไปสุดท้ายออกจากประเทสไทยที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

ระหว่างทางเดินของแม่น้ำโขงได้ก่อให้เกิดสิ่งดีๆ มากหลาย ประชาชนสองฟากฝั่งใช้แม่น้ำโขงเป็นแหล่งอาหาร แหล่งทำมาหากินด้านการเกษตรมากมาย ที่หน้าเมืองนครพนมและเมืองเวียงจันทน์เกิดเป็นหาดทรายกว้างใหญ่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของทั้งสองประเทศ งานเทศกาลประเพณีที่เกี่ยวข้องกัยการท่องเที่ยว เช่น ประเพณีแข่งเรือ ประเพณีไหลเรือไฟ และปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้น ก่อให้เกิดการทางท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง
แม่น้ำมูน เป็นแม่น้ำสายกว้างใหญ่และยาวที่สุดในอีสาน เกิดขึ้นจากแนวทิวเขาสันกำแพงบางส่วน และทิวเขาพนมดงรักอีกบางส่วน แม่น้ำมูนไหลลงไปกลายเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำโขง ตรงจุดที่แม่น้ำมูนไหลลงแม่น้ำโขงเรียกว่าแม่น้ำสองสี เมืองโขงเจียม

ส่วน แม่น้ำชี ต้นกำเนิดคือแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ แล้วไหลผ่านไปยังที่ราบตอนกลางของภาคอีสาน จังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร แล้วไหลมาลงยังแม่น้ำมูนที่จังหวัดอุบลราชธานี ต่อจากนั้นจึงรวมกันไหลลงแม่น้ำโขงที่ปากมูลอีกต่อหนึ่ง

ถึงตรงนี้ อ.ส.ท. เราจึงฟันธงไปได้เลยว่า สุดยอดแห่งแม่น้ำอีสาน จะมีแม่น้ำไหนเกินแม่น้ำโขง บวกกับลำน้ำสาขา แม่น้ำมูน แม่น้ำชี เป็นไม่มี...ฟันธง


เส้นทางน้ำ
แม่น้ำมูลแม่น้ำมูลมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาตอนใต้ของจังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านอำเภอเมือง อำเภอพิมาย อำเภอชุมพวง (จังหวัดนครราชสีมา), อำเภอสตึก (จังหวัดบุรีรัมย์ ), อำเภอท่าตูม (จังหวัดสุรินทร์), อำเภอราษีไศล อำเภอเมือง และ อำเภอกันทรารมย์ (จังหวัดศรีสะเกษ) บรรจบกับกับแม่น้ำชีบริเวณบ้านขอนไม้ยูง อำเภอวารินชำราบ (จังหวัดอุบลราชธานี) แล้วไหลผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอพิบูลมังสาหาร และไหลลงแม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาวทั้งหมดประมาณ 726 กิโลเมตร ลำน้ำสาขาที่สำคัญ ได้แก่ ลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำปลายมาศ ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย ลำน้ำเสียว ลำเซบาย และลำมูลน้อย เป็นต้น ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรเป็นส่วนใหญ่



สองฝั่งเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงลุ่มน้ำมูลมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 69,701 ตร.กม. หรือ 43-56 ล้านไร่หรือ 13.6% ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งประเทศครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ปริมาณน้ำไหลลงสู่แม่น้ำโขงเฉลี่ยประมาณ 26,655 ล้าน ลูกบาศก์เมตรปี


สาขาแม่น้ำมูล
ลำตะคอง
ลำพระเพลิง
ลำแซะ
ลำจักราช
ลำปลายมาศ
ลำนางรอง
ลำชี
ห้วยสำราญ
ห้วยตามาย
ลำโดมใหญ่
ลำโดมน้อย
ลำพังชู
ลำเซบก
ลำเซบาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น